วันพฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ศัตรูของเหล่ามะพร้าว

แมลงศัตรูของมะพร้าว


      แมลงถือเป็นศัตรูกับพืชแทบทุกชนิด แมลงนั้นจะเเพร่ขยายอย่างรวดเร็ว และกัดกินพืชบริเวณเหล่านั้นจนเกลี้ยง วันนี้เราจะพามารู้จักแมลงที่คอยก่อกวนการเจริญเติบโต ของเหล่าต้นมะพร้าวกันครับ


1.หนอนหัวดำมะพร้าว

         หนอนหัวดำมะพร้าว  มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Opisina arenosella Walker  มีชื่อสามัญภาษาอังกฤษว่า Coconut black-headed caterpillar ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน ขนาดลำตัววัดจากหัวถึงปลายท้อง ยาวประมาณ 1 - 1.2 เซนติเมตร   ปีกสีเทาอ่อน มีจุดสีเทาเข้มที่ปลายปีก ลำตัวแบนชอบเกาะนิ่งแนบตัวติดผิวพื้นที่เกาะ เวลากลางวันจะเกาะนิ่งหลบอยู่ใต้ใบมะพร้าวหรือในที่ร่ม ผีเสื้อเพศเมียมีขนาดใหญ่กว่าเพศผู้เล็กน้อย จากการศึกษาการเจริญเติบโต ของหนอนหัวดำ พบว่า ระยะหนอน  32 - 48 วัน มีการลอกคราบ 6 - 10 ครั้ง โดยระยะหนอนแต่ละวัยมีระยะเวลาเจริญเติบโตแตกต่างกัน




2.ด้วงแรดมะพร้าว



         ด้วงแรด เป็นแมลงที่สำคัญของมะพร้าวและปาล์มน้ำมัน มี ชนิด คือ ด้วงแรดชนิดเล็ก และด้วงแรดชนิดใหญ่ ด้วงแรดชนิดเล็ก พบทั่วทุกภาคของประเทศไทยและพบบ่อยที่สุด สำหรับด้วงแรดชนิดใหญ่ มักพบไม่บ่อยนัก พบได้ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปทางภาคใต้ของประเทศ จากการปลูกปาล์มน้ำมันแทนการปลูกมะพร้าวจำนวนมากในประเทศไทย ด้วงแรดมะพร้าวจึงเริ่มมีความสำคัญมาก เนื่องจากเมื่อมีการโค่นล้มต้นมะพร้าวหรือต้นปาล์มที่มีอายุมากและปลูกต้นปาล์มทดแทนใหม่ ทำให้มีแหล่งขยายพันธุ์ของด้วงแรดมากขึ้นจึงเข้าทำลายต้นปาล์มที่ปลูกใหม่ และต้นมะพร้าว โดยปกติด้วงแรดมะพร้าวไม่สามารถระบาดได้ เหตุที่เกิดการระบาด อาจกล่าวได้ว่าส่วนใหญ่เกิดจากความละเลยของมนุษย์ที่ปล่อยให้มีแหล่งขยายพันธุ์จำนวนมาก ทำให้ด้วงแรดเพิ่มปริมาณมากจนเข้าทำลายพืชให้ได้รับความเสียหาย สาเหตุของการระบาดที่เกิดเองตามธรรมชาตินั้นน้อยมาก เช่น การเกิดวาตภัย พายุลมแรงทำให้ต้นมะพร้าวและปาล์มน้ำมันล้มตายเป็นจำนวนมาก จึงเป็นแหล่งขยายพันธุ์ขนาดใหญ่ของด้วงแรดในเวลาต่อมา

3.แมลงดำหนามมะพร้าว





แมลงดำหนามมะพร้าว ชนิดที่พบการระบาดในประเทศในขณะนี้ เป็นแมลงดำหนามต่างถิ่นคือ บรอนทิสป้า ลองจิสสิมา(Brontispa longissima) มีถิ่นกำเนิดในอินโดนีเซีย ปาปัวนิวกีนี และมาเลเซียที่ติดกับเมืองชวา ส่วนชนิดที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยคือ พลีสิสป้า ริชเชอราย (Plesispa reicheri) ทั้งสองชนิดนี้มีลักษณะรูปร่างและการทำลายแตกต่างกัน แมลงดำหนามต่างถิ่นมีขนาดใหญ่กว่า และมีส่วนอกด้านบนเป็นรูปสี่เหลี่ยม ลงทำลายต้นมะพร้าวทั้งต้นเล็กและต้นใหญ่ แต่แมลงดำหนามท้องถิ่น มีลำตัวสั้นและป้อมกว่า ส่วนอกด้านบนเป็นรูประฆังคว่ำ ชอบลงทำลายมะพร้าวต้นเล็ก จึงไม่เกิดการระบาดที่รุนแรง 




4.ด้วงงวงมะพร้าว



มักทำลายในส่วนของลำต้นและยอดบริเวณคอมะพร้าว โดยการเจาะเข้าไปจนเป็นโพรง วิธีการป้องกันกำจัด คือ การหมั่นทำความสะอาดแปลง ตรวจดูการเข้าทำลายและการระบาดอย่างสม่ำเสมอ หากพบตัวด้วงงวงหรือร่องรอยการทำลายให้หยอดสารคลอร์ไพรีฟอส 40% EC อัตรา 80 มิลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ตามรอยแผลหรือรูเจาะ

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น