วันพฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559

สรรพคุณจากส่วนต่างๆของมะพร้าว

    มะพร้าวถือเป็นพืชอีกชนิดที่คนไทยนิยมปลูก ด้วยสามารถนำส่วนต่างๆมาใช้ประโยชน์ได้เกือบทุกส่วน ส่งผลให้กลายเป็นพืชยอดนิยมไปในทันที วันนี้เราจะมีดูสรรพคุณของส่วนต่างๆของมะพร้าวกันครับ

-  น้ำมันจากเนื้อมะพร้าว – บำรุงกำลัง ชโลมเส้นผมให้แข็งแรง ทาแก้ผิวหนังแห้ง แตกเป็นขุย ทาบำรุง      ผิวหนังและใช้ผสมทาแก้กลากเกลื้อน ทาแก้โรคผิวหนังต่างๆ รักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกและ              บาดแผลที่เกิดจากความเย็นจัด จากคุณสมบัติการเป็นน้ำมัน สามารถเคลือบผิวหนังได้ดีป้องกันการ        ติดเชื้อ
-  เปลือกต้น – เผาเป็นเถ้า ใช้ทาแก้หิด และสีฟันแก้ปวดฟัน
-  ราก – รสฝาด หวาน ใช้ขับปัสสาวะ และแก้ท้องเสีย ต้มน้ำอมแก้ปากเจ็บ
-  ถ่านจากกะลา – รับประทานแก้ท้องเสีย และดูดสารพิษต่างๆ
-  น้ำมันที่ได้จากการเผากะลา – ใช้ทา บาดแผล และโรคผิวหนัง แก้กลาก อุดฟัน แก้ปวดฟัน
-  เปลือกผล – รสฝาดขม สุขุม ใช้ห้ามเลือด แก้ปวด เลือดกำเดาออก โรคกระเพาะ และแก้อาเจียน
-  สารสีน้ำตาล – ไหลออกมาแข็งตัวที่ใต้ใบ ใช้ห้ามเลือดได้ดี
-  กะลา – แก้ท้องเสีย แก้ปวดเอ็น ปวดกระดูก
-  เนื้อมะพร้าว – รสชุ่ม สุขุม ไม่มีพิษ รับประทานบำรุงกำลัง ขับพยาธิ
-  น้ำมะพร้าว – รสชุ่ม หวานสุขุม ไม่มีพิษ แก้กระหาย ทำให้จิตใจชุ่มชื่น แก้พิษ อาเจียนเป็นเลือด ท้อง       เสีย บวมน้ำ ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว ในยามจำเป็น น้ำมะพร้าวอ่อนอายุประมาณ 7 เดือน อาจใช้ฉีดเข้า             เส้นเลือดแก้ภาวะการเสียน้ำได้
ข้อควรระวังในการดื่มน้ำมะพร้าว


        น้ำมะพร้าวถือเป็นแหล่งอาหารบริสุทธิ์ ผ่านการกลั่นกรองจนกว่าจะถึงยอดลำต้น ทำให้ได้น้ำมะพร้าวที่สะอาด ไม่มีสิ่งเจือปน และไม่เป็นอันตราย แต่ก็มีข้อควรระวังในการดื่มเพื่อป้องกันการเกิดอันตรายกับสุขภาพของเราเช่นกัน ไปดูกันเลยครับ


1. เปิดแล้วควรดื่มทันที

      คุณค่าทางโภชนาการของน้ำมะพร้าวจะเสื่อมไปตามระยะเวลาที่มันถูกเปิด หรือถูกอากาศภายนอก หากคุณทิ้งไว้เป็นเวลานาน ก็มีโอกาสที่น้ำมะพร้าวจะเสียได้เร็วขึ้น  แทนที่จะให้ประโยชน์กลับจะทำให้ท้องร่วงเอาได้ง่ายๆ

2. น้ำมะพร้าวเป็นแหล่งของสารไฟโตเอสโตรเจนที่สูงมาก

     นอกจากนี้ในน้ำมะพร้าวอ่อนยังมีสารไฟโตเอสโตรเจนในปริมาณที่สูง ซึ่งมีการศึกษาถึงผลของการกินสารสกัดจากถั่วเหลืองที่มีสารไฟโตเอสโตรเจนสูง ในสตรีวัยหมดประจำเดือน เป็นเวลานาน 5 ปี พบว่ามีความสัมพันธ์กับการเพิ่มการ  เกิดโรคเยื่อบุมดลูกหนาตัวผิดปกติ ดังนั้นการดื่มน้ำมะพร้าวอ่อนที่มีสารไฟโตเอสโตรเจนสูงและให้ผลเช่นเดียวกันในสตรีวัยหมดประจำเดือน เป็นเวลานาน อาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคเยื่อบุมดลูกหนาตัวผิดปกติได้

3.น้ำมะพร้าวยังมีมีปริมาณน้ำตาลที่ค่อนข้างสูง

    ในน้ำมะพร้าวแก่และน้ำมะพร้าวอ่อนมีปริมาณน้ำตาลร้อยละ 0.2 และ 4.4 ตามลำดับ ซึ่งถึงแม้ว่า
ยังไม่มีข้อมูลการศึกษาในคนว่าการดื่มน้ำมะพร้าวทุกวันจะทำให้เป็นโรคเบาหวานได้หรือไม่ แต่จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกได้กำหนดให้ปริมาณน้ำตาลที่ต้องการใน 1 วัน ไม่ควรเกินร้อยละ 10 ของปริมาณพลังงานที่ได้รับในแต่ละวัน สำหรับคนไทยได้กำหนดปริมาณน้ำตาลว่าไม่ควรเกิน 6 ช้อนชา หรือ 24 กรัม เนื่องจากมีการได้รับน้ำตาลจากอาหารอื่นแล้ว
การปลูกมะพร้าวน้ำหอม


- ควรปลูกในฤดูฝน
- ขุดดินบนหลุมปลูกที่เตรียมไว้ให้เป็นหลุมเล็ก ๆ ขนาดเท่าผลมะพร้าว
- เอาหน่อที่คัดเลือกแล้วมาตัดรากที่หักช้ำออก ใช้ปูนขาวหรือยากันเชื้อราทาตรงรอยตัด วางหน่อลงในหลุม ให้หน่อตั้งตรง หันหน่อไปในทิศทางเดียวกัน
- กลบดินอย่างน้อย 2/3 ของผล หรือให้มิดผลมะพร้าวพอดีแต่ระวังอย่า ให้ดินทับโคนหน่อ เพราะจะทำให้หน่อถูกรัด ต้นจะโตช้าแต่เมื่อมะพร้าวโตขึ้นแล้วก็ควรจะกลบ ดินให้สูงขึ้นเพื่อป้องกันโคนลอย
- เอาไม้ปักเป็นหลักผูกยึดกับต้นให้แน่น เพื่อป้องกันลมโยกเหยียบดินรอบโคนหน่อให้แน่น
- ควรทำร่มให้ในระยะแรก เพื่อลดอัตราการตายเนื่องจากถูกแดดจัดเกินไป
- ในบริเวณที่ปลูกถ้ามีสัตว์เลี้ยงให้ทำรั้วป้องกันสัตว์มาทำลาย

วิธีการให้น้ำ 

ในการปลูกมะพร้าวน้ำหอมในปีแรก ควรใช้น้ำทุกสัปดาห์เมื่อมะพร้าวโตขึ้นอาจให้น้ำทุก 2 สัปดาห์

วิธีการใส่ปุ๋ยมะพร้าวน้ำหอม 

  แม้ว่ามะพร้าวเป็นพืชที่สามารถปลูกได้ในสภาพดินแทบทุกชนิด แต่ปริมาณผลผลิตนั้นขึ้นอยู่กับปริมาณธาตุอาหาร และสภาพความอุดมสมบูรณ์ของดิน สภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินที่เหมาะแก่การ ปลูกมะพร้าวควรอยู่ในช่วงระหว่าง pH 6-7 การใส่ปุ๋ยให้พอเหมาะแก่ความต้องการ ของมะพร้าวนั้น ควรนำตัวอย่างดินไปวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการด้วย ซึ่งพบว่าในปีหนึ่ง ๆ มะพร้าวจะดูดธาตุอาหารไปใช้ดังนี้

ไนโตรเจน 9.44  15.68 กิโลกรัมต่อไร่
ฟอสฟอรัส 4.37 – 7.36 กิโลกรัมต่อไร่
โพแทสเซียม 13.6 – 20.2 กิโลกรัมต่อไร่
แคลเซี่ยม 13.6 กิโลกรัมต่อไร่
แมกนีเซี่ยม 5.6 กิโลกรัมต่อไร่

  ในบรรดาธาตุดังกล่าว มะพร้าวจะดูดธาตุโพแทสเซียมไปใช้มากที่สุด โดยประมาณ ๖๒ เปอร์เซ็นต์ของโพแตสเซียมจะถูก นำไปใช้ในการเพิ่มจำนวนผลผลิตของมะพร้าว

   ชนิดปุ๋ยที่ใช้ได้ผลและเพิ่มผลผลิตมะพร้าวได้สูงสุด คือ ปุ๋ยเกรด 13- 13 – 21 ปุ๋ยเกรด 12 – 12 – 17 – 2, แมกนีเซียมซัลเฟต และปุ๋ยหินปูนโดโลไมท์ตามลำดับ ในการใช้ปุ๋ยนั้น ให้พิจารณาถึงสภาพความเป็นกรดเป็น ด่างของดินด้วย กล่าวคือ ในสภาพดินที่มีความเป็นด่างให้ใส่ปุ๋ยแมกนีเซียมซัลเฟต และสภาพดินที่มีความเป็นกรดให้ใช้ปุ๋ยโดโลไมท์ โดยให้ก่อนหรือหลังใส่ปุ๋ยเคมีประมาณ 1 เดือน เพื่อป้องกันการดูดตรึงธาตุอาหารไว้ในดินทำให้มะพร้าว ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
     ฤดูที่เหมาะสมที่สุดที่จะใส่ปุ๋ยให้เหมาะแก่มะพร้าว คือ ในช่วงต้นและปลายฤดูฝน เพราะในช่วงนี้มีความ ชื้นเพียงพอที่จะ ช่วยละลายปุ๋ยและรากของมะพร้าวกำลังเจริญอย่างเต็มที่สามารถ ดูดปุ๋ยไปใช้ได้ดี

    การเพิ่มปุ๋ยอินทรีย์ ประเทศที่อยู่ในเขต ร้อน มักมีอินทรีย์วัตถุในดินน้อย และมีการสลายตัวเร็ว เพราะมีฝนตกชุกและอุณหภูมิสูงจุลินทรีย์ในดินจะเจริญเติบโต ได้ดีคอยย่อยสลายทำลายพวกอินทรีย์วัตถุอย่างรวดเร็ว ทำให้ดินขาดความร่วนซุย การระบายน้ำ ระบายอากาศไม่ดี ดังนั้น จึงต้องมีการเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้แก่ดิน เช่น การใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสดที่ใช้ผลดี เช่น ถั่วเขียว ถั่วพร้า แล้วไถกลบหรือใช้วิธีเลี้ยงสัตว์ในสวนมะพร้าวก็ได้

การกำจัดวัชพืช 

- ใช้แรงงานคน โดยการถางด้วยจอบ หรือดายด้วยมีด
- ใช้เครื่องทุ่นแรง เช่น รถตัดหญ้า รถไถขนาดเล็ก
- ปลูกพืชคลุมจำพวกหรือตระกูลถั่ว เช่น คาโลโปโกเนียมเพอร์ราเรีย หรือเซ็นโตรซีมา โดยปลูกห่างจากโคนต้นประมาณ 2 เมตร

การเก็บเกี่ยวมะพร้าว 


   มะพร้าวน้ำหอมเป็นไม้ผลที่ให้ผลผลิตตลอดปี โดยสามารถเก็บผลมะพร้าวได้ประมาณ ๒๐ วันต่อครั้ง ใน 1 ปีหากมะพร้าวแทงจั่นทุกครั้งที่ออกทาง ใหม่จะเก็บมะพร้าวได้ทั้งสิ้น ๑๖ ทะลายต่อต้น ซึ่งทะลายใหญ่ ๆ มีผลประมาณ 10 - 15 ผล ผลผลิตเฉลี่ยปีละ 70-100 ผลต่อต้น หรือประมาณ 3000-4000 ผลต่อไร่ ระยะที่เหมาะ สำหรับเก็บมะพร้าวมากที่สุดคือมะพร้าวเนื้อสองชั้นมีเนื้อเต็มกะลา เนื้อหนาอ่อนนุ่มซึ่งอายุหลังจากจั่นเปิดประมาณ 200-210 น้ำมีความหนาประมาณ 6.6-7 เปอร์เซ็นต์บริกซ์ (Brix)
การเตรียมตัวก่อนการปลูกมะพร้าวน้ำหอม


    มะพร้าวน้ำหอม จัดเป็นพืชเศรษฐกิจยอดนิยม ทั้งช่วยดับกระหายคลายร้อน ช่วยบำรุงร่ายกาย แถมยังมีรสชาติอร่อย และมีการใช้สารพิษในกระบวนการปลูกที่น้อยมาก จัดเป็นพืชปลอดสารพิษอันดับต้นๆเลยทีเดียว วันนี้เราจะพามารุ้วิธีการเตรียมตัวก่อนการปลูกมะพร้าวกันครับ






คัดเลือกต้นพันธุ์
   คัดเลือกลักษณะมะพร้าวน้ำหอมที่ดี ต้องเริ่มจากการคัดเลือกลักษณะที่ดีของต้นพันธุ์ ซึ่งมีหลักในการคัดเลือกดังนี้
- ใบ มีทางใบสั้นแผ่กระจายรอบลำต้น เมื่อมองทรงพุ่ม จากภายนอก จะคล้ายรูปวงกลม
- จั่น มีจั่นอยู่ทุกโคนทางและที่จั่นมีผลมะพร้าวทุกขนาดอายุติดอยู่
- ผล มีผลโตสม่ำเสมอทั้งละลาย น้ำหนักผลประมาณ ๙๐๐ กรัมต่อผลผลยาวรีเล็กน้อย และตรงกันเป็นจีบเล็กน้อย น้ำมีรสหวานและกลิ่นหอม เนื้อนุ่มรสชาติกลมกล่อม
- ต้น ลำต้นตั้งตรง แข็งแรง อวบ ปล้องถี่

สภาพแวดล้อมที่เหมาะกับการปลูก
     น้ำฝน ฝนควรตกกระจายสม่ำเสมอไม่น้อยกว่า ๑,๕๐๐ มิลลิเมตรต่อปี ไม่ควรมีฝนตกน้อยกว่า ๕๐ มิลลิเมตร เกิน ๓ เดือน
สภาพภูมิอากาศ อุณหภูมิเฉลี่ย ๒๗ องศาเซลเซียส จะสูงหรือ ต่ำกว่านี้ไม่เกิน ๗-๘ องศาเซลเซียส อุณหภูมิไม่ควรเปลี่ยนแปลงอย่างกระทันหัน
แสงแดด มะพร้าวควรได้รับแสงแดดอย่างน้อย ๕ ชั่วโมงต่อวัน แสงแดดต้องสาดส่องอย่างเสมอตลอดปี มะพร้าวจะเติบโตได้ดี
ลม ควรมีลมพัดอ่อน ๆ แต่พัดอย่างสม่ำเสมอ
ดิน ไม่เปรี้ยวหรือเค็มจัด จะเป็นดินอะไรก็ ได้ที่มีความอุดมสมบูรณ์เพียงพอ และความชื้นพอเหมาะ แต่ถ้าเป็นดินน้ำไหลทรายมูลที่เกิดจากน้ำพัดพา มาสะสม เช่น ดินริมแม่น้ำ จะปลูกมะพร้าวได้ดีที่สุด

ดินที่ควรปลูก
1. ดินใกล้ฝั่งแม่น้ำ
2. ดินใกล้ปากน้ำติดทะเลเป็นที่ราบลุ่มน้ำท่วมในฤดูฝน
3. ดินตามเกาะต่างๆ
4. ดินชายทะเลซึ่งส่วนมากหน้าดินเป็นดินทราย
5. ดินเลนที่ขุดลอกจากสันดอน
6. ดินบนคันนา
น้ำมันมะพร้าว ไอเท็มสารพัดประโยชน์!

       น้ำมันมะพร้าว สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่างๆได้มากมาย ในวันนี้ผมจะมายกตัวอย่างการใช้น้ำมันมะพร้าวกับเส้นผมของเรากันครับ



    สำหรับสูตรน้ำมันมะพร้าวเพื่อการบำรุงเส้นผมนั้น ง่ายๆเลยเพียงแค่สาวๆหยดน้ำมันมะพร้าวในปริมาณเพียง 1 ช้อนชา ลงบนฝ่ามือ จากนั้นให้นำน้ำมันมะพร้าวมาชโลมลงบนเส้นผมและให้ทั่วหนังศรีษะ ตามด้วยการนวดคลึงให้น้ำมันแทรกซึมลงไปเพื่อที่จะได้บำรุงอย่างล้ำลึก และเป็นการผ่อนคลายหนังศรีษะไปในตัวด้วย เมื่อนวดได้สักพักให้นำหมวกสำหรับคลุมผมคลุมทิ้งไว้สัก 30 นาที ทั้งนี้หากยิ่งทิ้งไว้นานก็จะดีมาก เมื่อครบเวลาแล้วก็สามารถล้างออกและสระผมได้ตามปกติเลย ซึ่งสามารถทำได้ 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ การันตีได้เลยว่าเส้นผมที่เคยแตกปลายและไร้น้ำหนัก จะกลับมานุ่มเงางามและสุขภาพดีได้อย่างไม่น่าเชื่อ

ข้อดีของน้ำมันมะพร้าว
1. ช่วยลดปัญหาผมร่วง : น้ำมันมะพร้าวมีการใช้ในอินเดียมาตั้งแต่สมัยโบราณ มีสูตรการผมสมมากมายที่ใช้น้ำมันมะพร้าวผสมกับสมุนไพรอื่นๆเพื่อทาเข้าไปบนหนังศีรษะของเราเพื่อลดการผมร่วงได้  หนึ่งในนั้นก็คือใบสะระแหน่ที่เอามาผสมกับน้ำมันมะพร้าวนั่นเอง นอกจากจะช่วยลดอาการผมร่วงแล้วยังช่วยบำรุงเส้นผมอีกด้วยเช่นกัน

2.ทำให้ผมนุ่ม : สาวๆมักจะเห็นโฆษณาในโทรทัศแทบทุกวันเกี่ยวกับครีมนวดผมที่จะทำให้ผมนุ่มลื่นมีน้ำหนัก อยากจะบอกว่าน้ำมันมะพร้าวเป็นสูตรธรรมชาติที่จะทำให้ผมนุ่มลื่นยิ่งกว่ายิ่งกว่าครีมสารเคมีนี่ห้อใหนๆเสียอีก  วิธีใช้ก็คือทำน้ำมันมะพร้าวให้อุ่นๆหน่อยแล้วทาผมก่อนนอนแล้วค่อยล้างออกวันถัดไป  ไม่จำเป็นต้องทำทุกวัน

3. ลดรังแค : กรดไขมันต่างๆที่มีอยู่ในน้ำมันมะพร้าวทำหน้าที่ตัวแทนขจัดรังแคที่ดีมากและดีกว่าใด ๆ แชมพูขจัดรังแคเสียอีก การใช้อย่างสม่ำเสมอมีผลกระทั่งที่จะทำให้คุณหมดปัญหาเรื่องรังแคไปเลยด้วยซ้ำ หายขาดเลยนั่นเอง   วิธีใช้อีกประเภทที่มักนิยมใช้คือเอาน้ำมันมะพร้าวผสมกับน้ำมันงาแล้วทาบนหนังศีรษะ ทิ้งไว้สัก 30 นาทีแล้วใช้แชมพูล้างออก

4. ช่วยลดอาการผมเสีย : เนื่องจากว่าน้ำมันมะพร้าวนั้น อุดมไปด้วยไตรกลีเซอไรด์ ที่มีคุณสมบัติในการช่วยลดการสูญเสียโปรตีนของเส้นผม สามารถบำรุงเข้าสู่เส้นผมได้อย่างล้ำลึก ช่วยควบคุมรังแค ป้องกันไม่ให้ผมหงอกก่อนวัย แถมยังบำรุงให้เส้นผมแข็งแรง มีน้ำหนักมากขึ้น และลดปัญหาผมแตกปลาย เรียกได้ว่ามีประโยชน์แบบจัดเต็มซะขนาดนี้ สาวๆที่กำลังมีปัญหาผมเสียอยู่แล้วละก็อย่ารอช้าที่จะใช้น้ำมันมะพร้าวเพื่อบำรุงเส้นผม


5. ลดอาการผมแห้ง : สำหรับคนที่ผมแห้งและบางแน่นอนว่ามันคือปัญหาใหญ่มาก นอกจากจะจัดผมยากแล้วยังหวียากอีกต่างหาก ยิ่งถ้าเราใช้พวกสารเคมีในการรักษาจะยิ่งทำให้หนังศีรษะเราเสียอีก การใช้น้ำมันมะพร้าวช่วยในเรื่องนี้ได้ดีกว่า

มะพร้าว กับการจำแนกพันธุ์ต่างๆ

มะพร้าวนั้นมีหลากหลายสายพันธุ์ ซึ่งสามารถจำแนกได้สองแบบ ดังนี้




การจำแนกโดยอาศัยอายุการติดผล แบ่งออกเป็น 3 พันธุ์ คือ

1. มะพร้าวพันธุ์เบา โดยออกผลหลัง จากปลูกได้ 3 - 4 ปี
2. มะพร้าวกลาง ออกผลหลังจากปลูกได้ 5 - 6 ปี
3. มะพร้าวหนัก ออกผลหลังจากปลูกได้ 7 - 8 ปี

การแบ่งพันธุ์มะพร้าวโดยอาศัยความสูง ออกเป็น 2 พันธุ์ คือ

1. ต้นเตี้ย 
- แยกออกตามสีของผล ได้แก่ หมูสีเขียว หมูสีเหลือง นกคุ่ม น้ำหอม มะพร้าวไฟ นาฬิเก เป็นต้น

2. ต้นสูง 
- ได้แก่ พันธุ์มะพร้าวใหญ่ มะพร้าวกลาง ร้อยทะลาย ปากจก (ผลยาว) กะโหลก (ใหญ่พิเศษ) เปลือกหวาน และ มะแพร้ว เป็นต้น

          มะพร้าวแต่ละประเภท ยังมีความแตกต่างกันในเรื่องขนาดและทรงต้น จำนวน และลักษณะของใบ ขนาดรูปร่าง และสีของผล ในระยะหลังมีการนำเชื้อพันธุ์มะพร้าวจากทวีปแอฟริกา อเมริกากลาง และหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกเข้ามา เพื่อใช้ในการปรับปรุงพันธุ์อีกเป็นจำนวนมาก ทำให้การจำแนกประเภทและพันธุ์มะพร้าวยุ่งยากยิ่งขึ้น
ต้นกำเนิดของ "มะพร้าว"

            ไม่มีหลักฐานแน่ชัดระบุถึงถิ่นกำเนิดของมะพร้าว แต่ยอมรับกันว่า อยู่ในเขตร้อนของทวีปเอเชีย หรือหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ต่อมา จึงแพร่กระจายออกไปทั่วทุกภูมิภาคในเขตร้อน และกึ่งร้อน โดยอาจจะกระจาย (ลอยน้ำ) ไปเอง และคนนำเอาไปปลูก มะพร้าวอยู่ในวงศ์ปาล์ม (Family Palmaceae) มะพร้าวที่ใช้บริโภคมีชื่อ ทางวิทยาศาสตร์ว่า Cocos nucifera (Linn.)



        มีการปลูกมะพร้าวในทุกภาคทั่วประเทศไทย แต่สวนขนาดใหญ่อยู่ในภาคใต้ และจังหวัดชายทะเลรอบอ่าวไทย ในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ มีพื้นที่ปลูก มะพร้าวประมาณ ๒,๕๐๐,๐๐๐ ไร่ ได้ผลิตผล ๑,๓๐๐,๐๐๐ ตัน คิดเป็นมูลค่าที่เกษตรกรได้รับ ๒,๗๐๐ ล้านบาท ใช้บริโภคในรูปต่างๆ ประมาณ ๙๐๐,๐๐๐ ตัน ใช้สกัดน้ำมัน ๔๐๐,๐๐๐ ตัน และส่งเป็นสินค้าออก ๓,๐๐๐ ตัน เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกมีจำกัด ขยายออกไปอีกไม่ได้ ดังนั้น จึงมุ่งในทางเพิ่มผลิตผลต่อพื้นที่ให้สูงขึ้น โดยเปลี่ยนสวนมะพร้าวเก่าที่เป็นพันธุ์พื้นเมืองมีอายุมาก และให้ผลิตผลต่ำ เป็นสวนปลูกใหม่ ใช้พันธุ์มะพร้าวลูกผสมที่ให้ผลิตผลสูง และเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร โดยปลูกพืชแซม เช่น โกโก้ พริกไทย สมุนไพร หรือเลี้ยงสัตว์ เช่น โคเนื้อ หรือโคนม ในสวนมะพร้าว

        มะพร้าวเป็นพืชปลูกกันมาเป็นเวลานาน ทั่วเขตร้อนของโลก จึงมีความแตกต่างกันในรูปทรง และลักษณะอื่นๆ อย่างหลากหลาย มีนักพฤกษศาสตร์หลายท่าน พยายามจำแนกพันธุ์มะพร้าวที่ปลูกกันออกเป็นหมวดหมู่ แต่ก็ยังไม่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป การจำแนกพันธุ์มะพร้าวในประเทศไทย อาศัยทั้งความสูง และอายุการตกผล



ศัตรูของเหล่ามะพร้าว

แมลงศัตรูของมะพร้าว


      แมลงถือเป็นศัตรูกับพืชแทบทุกชนิด แมลงนั้นจะเเพร่ขยายอย่างรวดเร็ว และกัดกินพืชบริเวณเหล่านั้นจนเกลี้ยง วันนี้เราจะพามารู้จักแมลงที่คอยก่อกวนการเจริญเติบโต ของเหล่าต้นมะพร้าวกันครับ


1.หนอนหัวดำมะพร้าว

         หนอนหัวดำมะพร้าว  มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Opisina arenosella Walker  มีชื่อสามัญภาษาอังกฤษว่า Coconut black-headed caterpillar ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน ขนาดลำตัววัดจากหัวถึงปลายท้อง ยาวประมาณ 1 - 1.2 เซนติเมตร   ปีกสีเทาอ่อน มีจุดสีเทาเข้มที่ปลายปีก ลำตัวแบนชอบเกาะนิ่งแนบตัวติดผิวพื้นที่เกาะ เวลากลางวันจะเกาะนิ่งหลบอยู่ใต้ใบมะพร้าวหรือในที่ร่ม ผีเสื้อเพศเมียมีขนาดใหญ่กว่าเพศผู้เล็กน้อย จากการศึกษาการเจริญเติบโต ของหนอนหัวดำ พบว่า ระยะหนอน  32 - 48 วัน มีการลอกคราบ 6 - 10 ครั้ง โดยระยะหนอนแต่ละวัยมีระยะเวลาเจริญเติบโตแตกต่างกัน




2.ด้วงแรดมะพร้าว



         ด้วงแรด เป็นแมลงที่สำคัญของมะพร้าวและปาล์มน้ำมัน มี ชนิด คือ ด้วงแรดชนิดเล็ก และด้วงแรดชนิดใหญ่ ด้วงแรดชนิดเล็ก พบทั่วทุกภาคของประเทศไทยและพบบ่อยที่สุด สำหรับด้วงแรดชนิดใหญ่ มักพบไม่บ่อยนัก พบได้ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปทางภาคใต้ของประเทศ จากการปลูกปาล์มน้ำมันแทนการปลูกมะพร้าวจำนวนมากในประเทศไทย ด้วงแรดมะพร้าวจึงเริ่มมีความสำคัญมาก เนื่องจากเมื่อมีการโค่นล้มต้นมะพร้าวหรือต้นปาล์มที่มีอายุมากและปลูกต้นปาล์มทดแทนใหม่ ทำให้มีแหล่งขยายพันธุ์ของด้วงแรดมากขึ้นจึงเข้าทำลายต้นปาล์มที่ปลูกใหม่ และต้นมะพร้าว โดยปกติด้วงแรดมะพร้าวไม่สามารถระบาดได้ เหตุที่เกิดการระบาด อาจกล่าวได้ว่าส่วนใหญ่เกิดจากความละเลยของมนุษย์ที่ปล่อยให้มีแหล่งขยายพันธุ์จำนวนมาก ทำให้ด้วงแรดเพิ่มปริมาณมากจนเข้าทำลายพืชให้ได้รับความเสียหาย สาเหตุของการระบาดที่เกิดเองตามธรรมชาตินั้นน้อยมาก เช่น การเกิดวาตภัย พายุลมแรงทำให้ต้นมะพร้าวและปาล์มน้ำมันล้มตายเป็นจำนวนมาก จึงเป็นแหล่งขยายพันธุ์ขนาดใหญ่ของด้วงแรดในเวลาต่อมา

3.แมลงดำหนามมะพร้าว





แมลงดำหนามมะพร้าว ชนิดที่พบการระบาดในประเทศในขณะนี้ เป็นแมลงดำหนามต่างถิ่นคือ บรอนทิสป้า ลองจิสสิมา(Brontispa longissima) มีถิ่นกำเนิดในอินโดนีเซีย ปาปัวนิวกีนี และมาเลเซียที่ติดกับเมืองชวา ส่วนชนิดที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยคือ พลีสิสป้า ริชเชอราย (Plesispa reicheri) ทั้งสองชนิดนี้มีลักษณะรูปร่างและการทำลายแตกต่างกัน แมลงดำหนามต่างถิ่นมีขนาดใหญ่กว่า และมีส่วนอกด้านบนเป็นรูปสี่เหลี่ยม ลงทำลายต้นมะพร้าวทั้งต้นเล็กและต้นใหญ่ แต่แมลงดำหนามท้องถิ่น มีลำตัวสั้นและป้อมกว่า ส่วนอกด้านบนเป็นรูประฆังคว่ำ ชอบลงทำลายมะพร้าวต้นเล็ก จึงไม่เกิดการระบาดที่รุนแรง 




4.ด้วงงวงมะพร้าว



มักทำลายในส่วนของลำต้นและยอดบริเวณคอมะพร้าว โดยการเจาะเข้าไปจนเป็นโพรง วิธีการป้องกันกำจัด คือ การหมั่นทำความสะอาดแปลง ตรวจดูการเข้าทำลายและการระบาดอย่างสม่ำเสมอ หากพบตัวด้วงงวงหรือร่องรอยการทำลายให้หยอดสารคลอร์ไพรีฟอส 40% EC อัตรา 80 มิลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ตามรอยแผลหรือรูเจาะ

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - 

เนื้อมะพร้าว กับประโยชน์สุดเหลือเชื่อ!?




เนื้อมะพร้าว
            นอกจากน้ำมะพร้าวแล้ว เนื้อของมะพร้าวยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อีกมากมาย ซึ่งเนื้อมะพร้าวเมื่อยังอ่อน เนื้อค่อนข้างบางและนุ่ม ใช้เติมความอร่อยให้กับอาหารได้ทั้งคาวและหวาน เช่น ห่อหมก บักลอย เค้ก ส่วน “มะพร้าวทึนทึก” คือมะพร้าวกลางอ่อนกลางแก่ รสชาติหวานมันมักใช้เป็นส่วนผสมของขนมไทยหรือนำไปคั่วแล้วกินเป็นเครื่องเคียงเมี่ยง และเมื่อมะพร้าวแก่จัดเนื้อจะหนาขึ้น เรียกว่า “มะพร้าวห้าว” เป็นส่วนที่นำมาขูดเพื่อคั้นน้ำกะทิ ปรุงอาหารคาวหวาน เพิ่มกลิ่นหอมและรสหวานมันได้เป็นอย่างดี เนื้อมะพร้าวมีเส้นใยอาหารสูง อีกทั้งยังมีคาร์โบไฮเดรต โปรตีนโพแทสเซียม ฟอสฟอรัส ทองแดง และเหล็กอีกด้วย

คุณค่าทางโภชนาการของน้ำมะพร้าวต่อ 100 กรัม
พลังงาน 79 กิโลแคลอรี
คาร์โบไฮเดรต 3.71 กรัม
น้ำตาล 2.61 กรัม
เส้นใย 1.1 กรัม
ไขมัน 0.2 กรัม
โปรตีน 0.72 กรัม
วิตามินบี 1 0.03 มิลลิกรัม 3%
วิตามินบี 2 0.057 มิลลิกรัม 5%
วิตามินบี 3 0.08 มิลลิกรัม 1%
วิตามินบี 6 0.032 มิลลิกรัม 2%
วิตามินซี 2.4 มิลลิกรัม 3%
ธาตุแคลเซียม 24 มิลลิกรัม 2%
ธาตุเหล็ก 0.29 มิลลิกรัม 2%
ธาตุแมกนีเซียม 25 มิลลิกรัม 7%
ธาตุฟอสฟอรัส 20 มิลลิกรัม 3%
ธาตุโพแทสเซียม 250 มิลลิกรัม 5%
ธาตุสังกะสี 0.1 มิลลิกรัม 1%
% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ 

สรรพคุณของเนื้อมะพร้าวน้ำหอม
- รับประทานเป็นยาบำรุงกำลัง ขับปัสสาวะ ขับพยาธิ แก้ไข้ กระหายน้ำ

ข้อควรระวังในการทานเนื้อมะพร้าว
-  น้ำตาลในเนื้อมะพร้าวที่อาจส่งผลเสียต่อผู้ที่เป็นโรคเบาหวานได้

ประโยชน์อื่นๆที่น่าเหลือเชื่อ ของเนื้อมะพร้าว
ช่วยกำจัดริ้วรอยของครกหินที่ซื้อมาใหม่ ด้วยการใช้เนื้อมะพร้าวที่ใช้คั้นกะทิตัดเป็นชิ้นเล็ก ๆ 4-5 ชิ้น ใส่ลงไปในครกแล้วตำเนื้อมะพร้าวจนละเอียด ให้น้ำมันจากเนื้อมะพร้าวออกมาสัมผัสกับผิวครกไปเรื่อย ๆ ประมาณสิบนาที แล้วทิ้งไว้อย่างนั้นประมาณ 1 คืนเพื่อให้น้ำมะพร้าวซึมเข้าตามริ้วรอยของเนื้อครก ก้นครกก็จะลื่นเป็นมันดูสดใสใช้งานได้อย่างคล่องมือ
- ช่วยแก้อาการระคายเคืองตา ด้วยการใช้เนื้อมะพร้าวอ่อนสด ๆ แปะที่ดวงตา อาการจะค่อย ๆ ทุเลาลง